บทความลงโฆษณากับเราติดต่อเราKaakai Thailand

เทคนิคการ "เซ้ง" กิจการอย่างไรไม่ให้สูญเงินเปล่า 🏪

By Kaakai Guru - 15/08/2021

เทคนิคการ-เซ้ง-กิจการอย่างไรไม่ให้สูญเงินเปล่า.jpg

ในการทำธุรกิจการเริ่มนับหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักนิยมซื้อแฟรนไชส์ แต่ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจคือ “เซ้งกิจการ” หรือการเปลี่ยนเจ้าของธุรกิจโดยโดยสิ่งที่ผู้เซ้งจะได้รับในการเซ้งกิจการต่อจากเจ้าของเดิม

นอกเหนือไปจากตัวธุรกิจ ก็คือ ทำเล องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ วัสดุอุปกรณ์ใช้ในธุรกิจ หน้าร้าน ฐานลูกค้าเก่า รวมไปถึงกรรมสิทธิ์ในชื่อแบรนด์ ชื่อร้าน เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรผู้ลงทุนจำเป็นต้องพิจารณาในหลายปัจจัย รวมถึงความพร้อมของตัวเองว่าธุรกิจที่เซ้งมานั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน

วันนี้ ชี้ช่องรวย มี เทคนิคการเซ้งร้านอย่างไรไม่ให้ สูญเงินเปล่า มาให้กับใครก็ตามที่กำลังจะเซ้งกิจการได้ลองพิจารณาดูก่อนว่ามีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อไม่ให้ศูนย์เงิยลงทุนไปแบบฟรีๆ

1. ราคาค่าเซ้งกิจการ

แน่นอนว่าราคาเป็นปัจจัยแรกที่เราต้องนำมาพิจารณาก่อนว่าสิ่งที่จะได้มาคุ้มกับเงินที่จ่ายไปหรือไม่ รวมถึงสิ่งของอุปกรณ์ต่างๆอยู่ในสภาพที่ใช้งานต่อได้หรือไม่ โดยรวมบวกลบคูณหารแล้วอุปกรณ์และสภาพปัจจุบันของร้านหรือกิจการเหมาะสมกับราคาเซ้งไหม เราพอใจกับราคาหรือไม่ถ้าคิดว่าคุ้มในเบื้องต้นกว่าไปเริ่มต้นเองก็ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

2. กิจการนั้นมีสัญญาเช่าหรือไม่

หากเป็นกิจการที่มีสัญญาเช่า หรือต้องเช่าพื้นที่ ควรจะมีสัญญาเช่าที่ชัดเจน และต้องสามารถเปลี่ยนชื่อผู้เช่าในสัญญาได้ หากธุรกิจที่เราจะเซ้งเป็นเช่นนั้น เราก็วางใจได้ในระดับหนึ่งว่าพื้นที่ดังกล่าวจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดตลอดอายุสัญญาเพื่อให้เกิดการหยุดชะงักของรายได้

แต่หากเป็นธุรกิจที่ไม่มีสัญญาเช่า ถ้าเราเจอกิจการแบบนี้ เราอาจตกอยู่ในความเสี่ยงตลอดเวลา เพราะถ้าเจ้าของพื้นที่ตรวจพบหรือมีการเปลี่ยนนโยบายใหม่ ที่ส่งผลเสียต่อกิจการของเราดังนั้นควรตรวจสอบให้ดี

3. ระยะเวลาเช่า ค่าเปลี่ยนชื่อผู้เช่า

นอกจากจะดูข้อตงลงในสัญญาแล้ว ควรดูด้วยว่าระยะเวลาสัญญาเช่า นับจากที่เรามาเซ้งกิจการต่อเหลืออีกเท่าไหร่ และมีค่าเปลี่ยนสัญญาผู้เซ้งเจ้าใหม่หรือไม่

4. ส่งที่จะได้รับมีอะไรบ้าง

บางกรณีการเซ้งกิจการ อาจเป็นการเซ้งแบบรวมมูลค่าของอุปกรณ์ในร้านด้วย ก่อนจะเซ้งควรตรวจดูว่า อุปกรณ์จะได้รับราคาเท่าไร มีสภาพการใช้งานอย่างไร มีความจำเป็นสำหรับกิจการของเราหรือไม่ ควรแยกแต่ละรายการอย่างละเอียดว่า อะไรใช้ได้ อะไรไม่ได้ใช้ และอะไรที่ขาด

เพราะสิ่งเหล่านี้รวมอยู่ในต้นทุนเช่นกัน หรือในกรณีที่อุปกรณ์ที่ได้รับไม่คุ้มกับเงินลงทุนควรจะมีการต่อรองตกลงเรื่องของราคากันใหม่ หากเซ้งกิจการพร้อมอุปกรณ์ในสภาพดี ถือว่าเป็นการลดต้นทุนการเริ่มธุรกิจของเราได้อีกทาง แถมไม่เสียเวลาไปซื้อใหม่อีกด้วย

5. ค่าองค์ความรู้ต่างๆ

เราต้องรู้ว่ากิจการที่เราจะเซ้งนั้นเป็นกิจการเฉพาะ ที่ต้องเรียนรู้ข้อมูลจากเจ้าของเดิมหรือไม่ หรือบางอย่างหากเราสามารถเรียนรู้เองได้ หรือเรามีความรู้เรื่องนั้นๆอยู่แล้วก้สามารถนำมาต่อรองเรื่องของราคาได้เช่นกัน

6. ทำเลที่ตั้ง

ขอนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาเป็นอย่างมาก ถึงแม้ค่าเซ้งจะราคาถูกแต่อยู่ในทำเลที่ไม่ดีก้เปล่าประโยชน์ เราควรดูให้ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ ซึ่งธุรกิจแต่ละประเภทจะมีทำเลที่แตกต่างกันออกไป เช่น

ร้านค้าร้านอาหารควรจะอยู่ในทำเลที่ผู้คนสัญจรผ่านไปมา หากเป็นร้านอาหารใหญ่หน่อยมีที่จอดรถให้ลูกค้าหรือไม่หรือว่าธุรกิจของเราไม่จำเป็นต้องมีก็ได้, ธุรกิจสถาบันกวดวิชาอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่คนพลุกพล่านแต่ต้องเดินทางไปมาสะดวกไม่อยู่ในที่เปลี่ยวจนเกินไปเพราะนักเรียนอาจจะเดินทางไปลำบาก เป็นต้น

7. ธุรกิจ กิจการที่ต้องใช้พนักงาน

จะใช้พนักงานเดิมหรือว่าเราต้องหาพนักงานใหม่ บางกิจการพนักงานมีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างมาก เช่น ร้านอาหารจะขายได้ดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือของแม่ครัว ในกรณีร้านนวดไทย ลูกค้าบางคนก็ติดหมอมากกว่าติดร้าน

ถ้าเราเซ้งกิจการต่อจากคนอื่น คุณควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจะใช้พนักงานของตัวเองหรือว่าจะจ้างพนักงานชุดเดิม (กรณีเจ้าของเดิมไม่พาพนักงานไปที่อื่นด้วย) ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน

8. ประเมินรายได้

การประเมินรายได้เราจำเป็นต้อศึกษาหรือสอบถามกับเจ้าของกิจการเดิมว่าที่ผ่านมารายได้ต่อเดือนเป็นอย่างไร มีจำนวนลูกค้ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถมาดูก่อนที่จะเซ้งกิจการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ในส่วนของรายได้อาจจะขึ้นอยู่กับผู้เซ้งด้วย บางเคสบ้างร้านเจ้าของเก่าขายไม่ดีเลยแต่กลับกันได้เจ้าของใหม่มาโปรโมทเก่งหาลูกค้าเข้าร้านเก่งรวยไปหลายรายก็มี ให้เห็นเยอะไป

Cr. cheechongruay

บทความใหม่

ดูทั้งหมด...

ประกาศร้านแนะนำ

ยังไม่มีร้านใกล้เคียง